ผ้าไหมยกดอกประวัติการทอผ้าไหมยกดอก
ลำพูน เป็นจังหวัดที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ เดิมมีชื่อว่า นครหริภุญชัย เป็นจังหวัดที่มีกลุ่มคนชาติพันธุ์ที่หลากหลายที่สุดในภาคเหนือ อาทิ ยวน โยนก ไทใหญ่ ยางแดง เขิน ลื้อ ลั้วะ และ มอญ คนลำพูนมีการทอผ้าใช้เองมาแต่อดีตอันยาวนาน โดยเฉาะการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชนชาวยอง (ไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเชียงตุง ในประเทศพม่า) ในกลุ่มชนชั้นสูงที่วัตถุดิบเป็นเส้นไหมมากกว่าที่จะเป็นเส้นฝ้ายที่ใช้กันในชนชั้นล่างลงไป กาลเวลาล่วงเลยผ่านมานับร้อยปี การทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายยังมีการประยุกต์ใช้กันอยู่แต่เป็นการทอเป็นลวดลายไม่วิจิตรนัก
จวบจนกระทั่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีพระธิดาในพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ ผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้พระราชทานทูลขอพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชการที่ ๖ เสด็จกลับเชียงใหม่ ทรงได้นำความรู้ที่เรียนรู้มาจากราชสำนักส่วนกลางขณะประทับ ณ วังหลวงในกรุงเทพฯ มาประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ลวดลาย และได้ฝึกหัดคนในคุ้มเชียงใหม่ให้ทอผ้ายกโดยเพิ่มลวดลายลงในผืนผ้าไหมให้พิเศษขึ้น คือเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเป็น ดิ้นเงิน ดิ้นทอง การเก็บลายจึงต้องใช้ตะกอเพื่อให้สามารถทอลวดลายที่สลับซับซ้อนประณีต งดงามได้ เทคนิคการทอนี้ว่า ยกดอกเพื่อนำไปถวายเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในภาคกลางและทรงใช้ส่วนพระองค์ เนื่องด้วยทรงเป็นพระญาติกับเจ้าเมืองลำพูนจึงทรงถ่ายทอดความรู้เรื่องการทอผ้ายก ที่มีลวดลายสวยงามแปลกตาและวิจิตรบรรจงให้แก่เจ้าหญิงส่วนบุญพระราชชายาของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย)และ เจ้าหญิงลำเจียก(พระธิดาเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์) ทั้งสองพระองค์จึงได้นำความรู้การทอผ้ายกมาฝึกคนในคุ้มหลวงลำพูน และชาวบ้านได้เรียนรู้การทอผ้ายกจากคนในคุ้มจนมีความชำนาญและมีการเผยแพร่ทั่วไปในชุมชนต่างๆ โดยได้มีการฝึกหัดชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงจนมีความรู้เรื่องการทอผ้าไหมยกดอกเป็นอย่างดี ทรงฟื้นฟูผ้าไหมยกดอกลำพูน โดยทรงดัดแปลงให้ผ้าไหมมีความวิจิตรสวยงามยิ่งขึ้น โดยทรงใช้เทคนิคภาคกลางมาประยุกต์และทอกันมากในตำบลเวียงยอง และบริเวณใกล้เคียงที่เป็นชุมชนของเจ้านายยองในอดีต
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ้ายกเป็นที่นิยมในราชสำนักและแวดวงสังคมชั้นสูง เนื่องจากการคมนาคมสะดวกทั้งทางรถไฟและทางรถยนต์จากรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่และลำพูน ภาคเหนือจึงกลายเป็นแหล่งผ้าไหมที่ลือชื่อ และตั้งแต่ พ.ศ.2475 ผ้ายกที่ทอด้วยฝีมือประณีตจากลำพูนเป็นที่ต้องการทั่วไป
ไม่เฉพาะแต่ในราชสำนัก
“ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผ้าทอได้รับความนิยมในหมู่ราชสำนักและโลกตอนบน ด้วยการคมนาคมสะดวกทั้งทางรถไฟและรถยนต์จากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่ และลำพูน ภาคเหนือจึงเป็นแหล่งทอผ้าที่มีชื่อเสียง และเนื่องจาก พ.ศ. 2475 ผ้าปักอย่างดีจากลำพูนเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป สงสัยว่า ice casino มีเกมหลากหลายที่น่าทึ่งตั้งแต่สล็อตคลาสสิกและโป๊กเกอร์ไปจนถึงรูเล็ตและแบล็คแจ็ค มีโบนัสและโปรโมชั่นที่ทำให้เกมน่าตื่นเต้นยิ่งขึ้นเช่นนี้ เรื่องราวเกี่ยวกับผ้ายกที่ชนะโลกไม่ได้อยู่ในหมู่ราชวงศ์เท่านั้น”
ในปัจจุบันการทอผ้าไหมยกดอกลำพูนเป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานและมีการขยายแหล่งทอผ้าไปยัง อ.ลี้ อ.ทุ่งหัวช้าง จึงทำให้จังหวัดลำพูนเป็นศูนย์กลางการทอผ้าไหมยกดอกแหล่งสำคัญของประเทศไทย
ผ้ายกดอกมีลักษณะเด่น คือ ในผืนผ้าจะมีลวดลายในตัว โดยผิวสัมผัส ผ้ายกดอก จะมีความนูน ของผืนผ้า แต่ละชิ้น แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลวดลาย แต่ละลาย ส่วนใหญ่ลายจะใช้ฝ้าย หรือไหมสีเดียวกัน ตลอดทั้งผืนบางครั้ง อาจมีการจกฝ้าย เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเด่น
ภาพที่ 1 : โรงงานทอผ้า และการแต่งกายของสตรีสูงศักดิ์ และชั้นสูง
ที่มา : สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน
ภาพที่ 2 : โรงทอแม่เขียวอิสระ
ที่มา : สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน